พวกเราเป็นเทรดเดอร์

Scalping คืออะไร? กลยุทธ์สำหรับนักเทรดที่ต้องการเก็งกำไร และโอกาสได้รับผลกำไรในระยะสั้น

ด้วย Paul Reid

What is scalping.jpeg

การเทรดแบบ Scalping คือ กลยุทธ์ที่มุ่งเน้นการทำกำไรการเปลี่ยนแปลงราคาเล็กน้อยในระยะเวลาสั้น โดยอาศัยการซื้อขายสินทรัพย์จำนวนมาก ซื้อเข้าและขายออกอย่างรวดเร็วเพื่อสะสมกำไรทีละเล็กน้อย ต่างจากกลยุทธ์การลงทุนแบบถือยาว

ท่ามกลางตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศอย่างมากมาย โดยเฉพาะการเทรด Forex ซึ่งเป็นตลาดที่มีสภาพคล่องสูง และยังเป็นตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงราคาอย่างรวดเร็ว ซึ่งเหมาะกับการเทรดแบบ Scalping ที่อาศัยความผันผวนของราคาในแต่ละรอบการเทรด ในบทความนี้เราจะชวนมาเจาะลึกเกี่ยวกับหลักการสำคัญ, กลยุทธ์ และข้อจำกัดของการเทรดแบบ Scalping กัน จะมีอะไรบ้างตามไปดูกันเลย

ข้อดีและข้อควรระวังของการเทรดด้วยกลยุทธ์ Scalping

ข้อดีของกลยุทธ์การเทรดแบบ Scalping

ได้กำไรเร็ว

ข้อได้เปรียบหลักของกลยุทธ์การเทรดแบบ Scalping คือ ความเร็วที่สามารถทำกำไรได้ ด้วยการใช้ประโยชน์จากความผันผวนของราคาเพียงเล็กน้อย แต่หากทำบ่อยครั้ง นักเทรดก็สามารถสะสมกำไรได้อย่างต่อเนื่อง

สภาพคล่องสูง

การเทรดแบบ Scalping มักเกิดขึ้นในตลาดที่มีสภาพคล่องและมีปริมาณการทำธุรกรรมสูง ซื้อขายสินทรัพย์ได้รวดเร็ว ทำให้กลยุทธ์นี้มีประสิทธิภาพ

ลดความเสี่ยงจากการถือครอง

เนื่องจากตำแหน่งถือครองสถานะที่ถูกถือไว้ในช่วงเวลาสั้นๆ (เปิดออเดอร์) ความเสี่ยงต่อการเคลื่อนไหวของตลาดข้ามคืนจึงลดลง ช่วยให้นักเทรดที่ต้องการเก็งกำไรสามารถลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงราคาข้ามคืนได้

ยืดหยุ่นกับตลาดผันผวน

การเทรดแบบ Scalping จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนเพิ่มขึ้น โดยกลยุทธ์นี้จะใช้ประโยชน์จากความผันผวนของราคาอย่างรวดเร็วที่อาจเกิดขึ้นระหว่างเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญหรือช่วงเวลาอื่นๆ ที่เกิดขึ้นและทำให้ตลาดเกิดความผันผวน

ข้อควรระวังของกลยุทธ์การเทรดแบบ Scalping

ต้นทุนการทำธุรกรรมสูง

เนื่องจากมีการทำธุรกรรมจำนวนมาก ต้นทุนการทำธุรกรรมจึงสามารถสะสมได้อย่างรวดเร็ว นักเทรดที่ต้องการเก็งกำไรจึงจำเป็นต้องตระหนักถึงต้นทุนเหล่านี้ เนื่องจากอาจมีผลกระทบต่อกำไรสุทธิได้

ความเครียดและกดดัน

ความจำเป็นในการตัดสินใจอย่างรวดเร็วอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้เกิดความเครียดและความกดดันทางจิตใจในระดับสูงได้ หากต้องการให้กลยุทธ์การเทรดแบบ Scalping มีมีประสิทธิภาพ นักเทรดจำเป็นต้องมีสามาธิสูงแและสามารถจัดการกับความเครัยดและกดดันได้ดี

พึ่งพาเทคโนโลยี

กลยุทธ์การเทรดแบบ Scalping มักต้องใช้เครื่องมือ เทคนิคอลอินดิเคเตอร์ และอัลกอริทึมในการเทรดที่ต้องทำตามคำสั่งอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจนำไปสู่การพึ่งพาเทคโนโลยีมากเกินไป และเพิ่มความเสี่ยงของปัญหาทางเทคนิคที่ตามมาได้

ต้องติดตามตลาดตลอดเวลา

การเทรดแบบ Scalping จำเป็นต้องมีการติดตามตลาดตลอดเวลา เพื่อพร้อมตัดสินใจอย่างรวดเร็วในการเข้าเทรดทุกเมื่อเพื่อใช้ประโยชน์จากโอกาสระยะสั้น ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่จำเป็นต้องใช้เวลาและความเอาใจใส่อย่างมากเพื่อไม่ให้พลาดโอกาสในการทำกำไร

ส่วนต่างระหว่างราคาซื้อขาย

กลยุทธ์การเทรดแบบ Scalping อาจไวต่อ Spread ที่มากกว่า เช่น ความแตกต่างระหว่างราคาซื้อและราคาขาย ซึ่ง Spread ที่กว้างขึ้นจะมีผลต่อนักเทรดที่ต้องการเก็งกำไรได้

ต้องใช้ทักษะและประสบการณ์: 

นักเทรดต้องมีความรู้ความเข้าใจในตลาด และมีทักษะในการวิเคราะห์ เนื่องจากความรวดเร็วของธุรกรรมและความจำเป็นในการตัดสินใจทันที การเทรดแบบ Scalping อาจเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับนักเทรดมือใหม่ จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในตลาดและมีประสบการณ์ก่อนจึงจะใช้กลยุทธ์นี้ได้มีประสิทธิภาพ

4 วิธีการเทรดด้วยกลยุทธ์ Scalping

กลยุทธ์การเทรดแบบ Scalping ด้วย Stochastic

Stochastic Oscillator คือ อินดิเคเตอร์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในตลาด Forex เพราะตามหลักการแล้ว Stochastic Oscillator มักจะใช้ได้ดีในตลาดที่เป็น Side Way ซึ่งในตลาด Forex โดยส่วนใหญ่แล้ว มักจะเคลื่อนที่ในรูปแบบ Side Way จึงทำให้เทรดเดอร์ Forex นิยมใช้ Stochastic Oscillator ในการวิเคราะห์กราฟราคา 

ซึ่งกลยุทธ์การเทรดแบบ Scalping ด้วย Stochastic เป็นแนวทางที่ช่วยให้นักเทรดสามารถคาดการณ์การกลับตัวของราคาที่อาจเกิดขึ้นได้โดยการระบุสภาวะการซื้อมากเกินไปและการขายมากเกินไปในตลาด โดยอาศัยค่า %K และ %D ของ Stochastic Indicator ซึ่งเป็นเครื่องมือที่แสดงความแข็งแกร่งและทิศทางแนวโน้มของราคา เมื่อเส้น %K สูงกว่าระดับ 80 แสดงว่ามีการซื้อมากเกินไป (Overbought) อาจมีการปรับราคาลงต่ำ  ในทางกลับกัน หากเส้น %K ต่ำกว่าระดับ 20 แสดงว่ามีการขายมากเกินไป (Oversold)  อาจมีการปรับราคาขึ้น ผู้เทรดจะใช้สัญญาณเหล่านี้ในการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว เพื่อทำกำไรสูงสุดและพัฒนากลยุทธ์การเทรดแบบสเกลปิ้งของตนเองให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

กลยุทธ์การเทรดด้วยค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Averages)

เป็นกลยุทธ์การเทรดยอดนิยมที่นักเทรดใช้ในการระบุสัญญาณซื้อขายที่เป็นไปได้ เป็นอีกหนึ่ง Indicators ที่สามารถทำความเข้าใจได้ง่ายที่สุดและถูกนำไปใช้งานเพื่อช่วยตัดสินใจซื้อขายหุ้น ซึ่งการใช้กลยุทธ์การเทรดด้วยค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Averages) กับการเทรดแบบ Scalping นี้ จะช่วยติดตามแนวโน้มของตลาด โดยค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่จะช่วยปรับระดับราคาที่แกว่งตัวให้เรียบง่ายขึ้น ทำให้นักเทรดมองเห็นภาพรวมของทิศทางราคาได้ชัดเจน เมื่อเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ระยะเวลาสั้นตัดผ่านเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ระยะยาว จะก่อให้เกิดสัญญาณซื้อขาย

ตัวอย่างเช่น หากเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ระยะสั้นตัดขึ้นเหนือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ระยะยาว อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงแนวโน้มขาขึ้น นักเทรดจึงเข้าเปิดสถานะ (Open Position) ในทางกลับกัน หากเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ระยะสั้นตัดลงต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ระยะยาว อาจเป็นสัญญาณขาย  วิธีการนี้ ช่วยให้นักเทรดสามารถปรับตัวและตอบสนองตามการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มได้รวดเร็ว ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของการเทรดแบบ Scalping

การเทรดด้วยกลยุทธ์แบบ Scalping ด้วย Parabolic SAR

Parabolic SAR (Stop and Reverse) คือ เครื่องมืออินดิเคเตอร์สำหรับการเทรดที่ติดตามแนวโน้ม โดยจะแสดงจุด (จุดเหล่านี้เรียกว่า Parabolic SAR) เหนือหรือต่ำกว่าราคา ขึ้นอยู่กับทิศทางของแนวโน้ม เช่น

  • เมื่อจุด Parabolic SAR อยู่ต่ำกว่าราคา แสดงว่าเป็นแนวโน้มขาขึ้น
  • เมื่อจุด Parabolic SAR อยู่เหนือราคา แสดงว่าเป็นแนวโน้มขาลง

นอกจากนี้ จุด Parabolic SAR ยังช่วยบอกจุดกลับตัวของแนวโน้มอีกด้วย ผู้เทรดแบบ Scalping จะใช้จุดเหล่านี้เป็นสัญญาณในการตัดสินใจเพื่อ เข้า (เปิดสถานะ) ออก (ปิดสถานะ) หรือกลับข้าง (Reverse Position) ตามการเคลื่อนไหวของราคาในตลาดได้อย่างรวดเร็ว

การเทรดด้วยกลยุทธ์แบบ Scalping ด้วย RSI

Relative Strength Index (RSI) เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการเทรดแบบ Scalping เพื่อประเมินความแข็งแกร่งของการเคลื่อนไหวของราคา และระบุภาวะซื้อมากเกินไป (Overbought) หรือขายมากเกินไป (Oversold)

เมื่อ RSI เกิน 70 จะบ่งชี้ถึงสถานการณ์ที่มีการซื้อมากเกินไป ซึ่งบ่งชี้ถึงการปรับฐานขาลงที่อาจเกิดขึ้น ในทางกลับกัน RSI ที่ต่ำกว่า 30 จะบ่งชี้ว่ามีการขายมากเกินไป ซึ่งบ่งบอกถึงการปรับฐานขาขึ้นที่เป็นไปได้ ซึ่ง Scalpers ใช้ระดับเหล่านี้ในการตัดสินใจในการเปิดหรือปิดตำแหน่ง ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของตลาดภายใต้เงื่อนไขที่เปลี่ยนแปลง

สิ่งที่ควรรู้ก่อนการเทรดด้วยกลยุทธ์ Scalping

ก่อนที่จะตัดสินใจเข้าสู่การเทรดแบบ Scalping นั้น มีองค์ประกอบสำคัญหลายข้อที่นักเทรดจำเป็นต้องมีความเข้าใจก่อน ไม่ว่าจะเป็น ความรู้พื้นฐานด้านตลาดการเงิน, ทักษะการประเมินความเสี่ยง หรือทักษะการวิเคราะห์ทางเทคนิค เป็นต้น

นักเทรดจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานด้านตลาดการเงิน ซึ่งรวมถึงการทำความเข้าใจเครื่องมือทางการเงินต่างๆ ชั่วโมงการซื้อขาย และปัจจัยทางเศรษฐกิจที่อาจส่งผลต่อราคา นอกจากนี้ การประเมินความเสี่ยงถือเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากธรรมชาติของการเทรดแบบ Scalping ต้องใช้กาตัดสินใจอย่างรวดเร็ว ทำให้นักเทรดด้วยกลยุทธ์นี้ต้องแบกรับความเสี่ยงที่ค่อนข้างสูง

การเรียนรู้การวิเคราะห์ทางเทคนิคก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน โดยจะต้องคุ้นเคยกับการใช้แผนภูมิ ตัวชี้วัดทางเทคนิค และรูปแบบราคา ในขณะที่มีความสามารถในการตีความข้อมูลนี้อย่างรวดเร็วเพื่อการตัดสินใจ ก่อนที่จะเสี่ยงด้วยเงินจริง ซึ่งหากใครที่อยากลองเทรดด้วยกลยุทธ์ Scalping เราขอแนะนำให้ฝึกฝนด้วยบัญชีทดลองเพื่อทำความคุ้นเคยกับแพลตฟอร์มการซื้อขายและทดสอบกลยุทธ์โดยไม่มีความเสี่ยงทางการเงินก่อน

หรืออย่างการเลือกแพลตฟอร์มการซื้อขายที่เหมาะสมก็ถือเป็นขั้นตอนสำคัญ เนื่องจากการดำเนินการตามคำสั่งอย่างรวดเร็ว เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคขั้นสูง และอินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่ายเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จในการเทรดแบบ Scalping นอกจากนี้ การจัดการอารมณ์และการมีสมาธิก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญเช่นกันสำหรับการเทรดแบบ Scalping

การมีกลยุทธ์การเทรดที่ชัดเจน พร้อมด้วยกฎการเปิด ปิด และบริหารจัดการสถานะ ควบคู่ไปกับแผนการเทรดที่กำหนดเป้าหมายผลกำไร ขีดจำกัดการขาดทุน และกฎการบริหารความเสี่ยง ถือเป็นขั้นตอนพื้นฐาน และการปรับขนาดตำแหน่งเพื่อพิจารณาความผันผวนของราคาเล็กน้อยก็ถือเป็นสิ่งสำคัญในการจัดการต้นทุนธุรกรรมและลดความเสี่ยง 

ที่สำคัญ การติดตามข่าวสารเศรษฐกิจเพื่อให้ทราบถึงเหตุการณ์ที่จะส่งผลกระทบต่อตลาด และยอมรับต้นทุนจากการเทรดแบบ Scalping ก็เป็นอีกองค์ประกอบที่นักเทรดควรเข้าใจก่อนตัดสินใจเทรด เนื่องจากเป็นการเทรดที่มีการซื้อขายจำนวนมาก ผู้เทรดควรยอมรับต้นทุนเหล่านี้ให้ได้ก่อนตัดสินใจใช้กลยุทธ์การเทรดแบบ Scalping 


ข้อมูลนี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำการลงทุน ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาไม่อาจใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ผลการดำเนินงานในอนาคต เงินลงทุนของคุณมีความเสี่ยง โปรดเทรดอย่างรอบคอบ


ผู้เขียน:

Paul Reid

Paul Reid

พอล รีด เป็นนักข่าวด้านการเงินที่ทุ่มเทในการเผยให้เห็นถึงความเชื่อมโยงพื้นฐานที่ซ่อนอยู่ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่เทรดเดอร์ พอลมีความสนใจด้านตลาดหุ้นเป็นพิเศษ โดยสามารถอ่านเกมการเปลี่ยนแปลงของบริษัทใหญ่ๆ ได้อย่างเฉียบขาดจากการติดตามตลาดการเงินมายาวนานกว่าทศวรรษ